วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

บทที่ 1 ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบกราฟิก

กราฟิก(Graphic)
งานกราฟิกเป็นส่วนสำคัญที่มีบทบาทยิ่งต่อการออกแบบและกระบวนการผลิตสื่อ โดยเฉพาะที่ต้องการการสัมผัสรับรู้ด้วยตา ได้แก่ หนังสือ นิตยสาร วารสาร แผ่นพับแผ่นป้ายโฆษณา บรรจุภัณฑ์ แผ่นปลิว โทรทัศน์ ภาพยนตร์ ฯลฯ
นักออกแบบจะใช้วิธีการทางศิลปะและหลักการทางการออกแบบร่วมกันสร้างสรรค์รูปแบบสื่อเพื่อให้เกิดศักยภาพในการที่จะเป็นตัวกลางของกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร นักออกแบบกราฟิกจะต้องค้นหา รวบรวมข้อมูลต่างๆขบคิดแนวทางและวางรูปแบบที่ดีที่สุดในอันที่จะทำให้สื่อนั้นสามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมายให้เกิดการรับรู้ ยอมรับ และมีทัศนะคติที่ดีต่อการตอบสนองสื่อที่มองเห็น

ประวัติของงานกราฟิก
งานกราฟิกมีประวัติความเป็นมาตามหลักฐานในอดีตเมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการขีดเขียน ขุด จารึกเป็นร่องรอย ให้ปรากฏเป็นหลักฐานในปัจจุบัน การออกแบบกราฟิกสมัยก่อนประวัติศาสตร์จึงเป็นการเริ่มต้นการสื่อความหมายด้วยการวาดเขียน ต่อมาประมาณ 9000 ปี ก่อนคริสตกาล ชาว Sumerien ในแคว้นเมโสโปเตเมีย ได้เริ่มเขียนตัวอักษรรูปลิ่ม และตัวอักษร Hieroglyphic ของชาวอียิปต์ งานกราฟิกเริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้นเมื่อได้คิดค้นกระดาษและวิธีการพิมพ์ ในปีค.ศ.1950 การออกแบบได้ชื่อว่า Typographical Style เป็นการพัฒนาโดยนักออกแบบชาวสวิส ตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา การออกแบบกราฟิกได้พัฒนาและขยายขอบเขตงานออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดอยู่แต่ในสิ่งพิมพ์เท่านั้น โดยเข้าไปอยู่ในกระบวนการสื่อสารอื่นๆ เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วีดีทัศน์ การถ่ายภาพ โปสเตอร์ การโฆษณา ฯลฯ การออกแบบกราฟิกในปัจจุบันเป็นยุคของอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมและเทคโนโลยีได้นำเครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ มาช่วยในการออกแบบกราฟิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์มีโปรแกรมด้านการจัดพิมพ์ตัวอักษร ที่นิยมกันมากคือ Microsoft Word และยังมีโปรแกรมอื่นๆที่สนับสนุนงานกราฟิกอีกมากมาย เช่น Adobe Photoshop , Illustrator , PageMaker , CorelDraw ,
3D studio , LightWave 3D , AutoCad ฯลฯ

ความหมายของกราฟิก
กราฟิกหมายถึงภาพลายเส้นหรือภาพที่เกิดจากการวัด จากการขีดเขียนที่แสดงด้วยตารางหรือแผนภาพ การวาดเขียนหรือการระบายสี การสร้างงานศิลปะบนพื้นระนาบหรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่างานกราฟิกหมายถึงกระบวนการออกแบบต่างๆในสิ่งที่เป็นวัสดุ 2 มิติ คือมีความกว้างและความยาวเท่านั้น เช่น งานออกแบบบ้านของสถาปนิกในการเขียนแบบ ตัวภาพและรายละเอียดบนแปลนบ้านเรียกว่าเป็นงานกราฟิก การเขียนภาพเหมือนจริงของจิตรกร การออกแบบภาพโฆษณาของนักออกแบบ การออกแบบฉลากหรือลวดลายหรือภาพประกอบหรือตัวอักษรที่ปรากฏบนฉลากสินค้า บนตัวสินค้าหรือบนภาชนะบรรจุภัณฑ์สินค้า ฯลฯ เหล่านี้จัดว่าเป็นงานกราฟิกทั้งส้น

การออกแบบกราฟิกหมายความถึง
1.การใช้ความคิดและสามัญสำนึกในการทำงานที่ได้วางแผนไว้ให้ได้ตามความคาดหมายอย่างสมบูรณ์
2.การถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นโครงสร้างระเบียบแบบแผนต่างๆทางทัศนะสัญลักษณ์
3.เป็นการออกแบบเพื่อให้อ่าน เช่น ออกแบบหนังสือ นิตยสารโฆษณา หีบห่อ แผ่นพับ
ป้ายภาพยนตร์ โทรทัศน์ โปสเตอร์ นิทรรศการ

การออกแบบคือ
1.คือ โครงการหรือแผนงานที่กำหนดไว้ในสมอง ซึ่งประกอบด้วยวิธีการและจุดหมายปลายทางไว้เรียบร้อยแล้ว
2.คือ จุดหมายที่กำหนดไว้ในการทำงานเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
3.คือ การร่างแบบงานจะเป็นโดยวิธีการสเก็ตซ์บนกระดาษหรือปั้นด้วยดินเหนียว
4.การจัดส่วนข้อมูลต่างๆซึ่งจะทำให้เกิดงานศิลปะ
การออกแบบ
คือการวางแผนสร้างสรรค์รูปแบบ โดยวางแผนจัดสัดส่วนประกอบของการออกแบบให้สัมพันธ์กับประโยชน์ใช้สอย วัสดุ และการผลิตของสิ่งที่ต้องการออกแบบนั้น ซึ่งเป็นองค์ประกอบทางความงามและพิจารณาถึงประโยชน์ใช้สอย
การออกแบบที่ดีนั้นควรจะคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้
1.รูปแบบที่สร้างสรรค์
2.มีความงามที่น่าสนใจ
3.สัมพันธ์กับประโยชน์ใช้สอย
4.เหมาะสมกับวัสดุ
5.สอดคล้องกับการผลิต

ส่วนประกอบของการออกแบบคือ
1.จุด (DOT)
2.เส้น (LINE)
3.รูปร่างและรูปทรง (SHAPE AND FORM)
4.มวลและปริมาตร (MASS AND VOLUME)
5.ลักษณะผิว (TEXTURE)
6.บริเวณว่าง (SPACE)
7.สี (COLOR)
8.น้ำหนักสี (VALUES)


การออกแบบในสังคม
- งานออกแบบเพื่อประโยชน์ใช้สอย เช่น การออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องครัว เครื่องเรือน เครื่องสุขภัณฑ์ ของใช้ในบ้าน ของใช้ในสำนักงาน ซึ่งการออกแบบเพื่อประโยชน์ใช้สอยนี้คือการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยเน้นประโยชน์ใช้สอยหรือประโยชน์ทางกายเป็นหลัก การออกแบบเช่นนั้นต้องศึกษาและออกแบบให้สัมพันธ์กับกลไกต่างๆซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ออกแบบจะต้องมีความรู้ ความสามารถเฉพาะด้านอีกด้วย
- งานออกแบบเพื่อการติดต่อสื่อสาร เป็นงานที่เน้นการสื่อสารถึงกันด้วยภาษาและภาพที่รับรู้ร่วมกันได้ เช่น การออกแบบหนังสือ โปสเตอร์ งานโฆษณา
- งานออกแบบเพื่อคุณค่าทางความงาม เป็นงานออกแบบทางทัศนศิลป์ ที่มีเป้าหมายเฉพาะตัว เช่น การได้พบภาพเขียนที่มีสีสดสวย
การออกแบบกราฟิก
เป็นลักษณะของการออกแบบพื้นผิว 2 มิติ เพื่อเป็นสื่อกลางสำหรับการถ่ายทอดข้อความ ความรู้สึกนึกคิด จากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง เพื่อให้เข้าใจและรู้เรื่องโดยใช้ประสาทตาในการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ ในการออกแบบจึงควรพิจารณาสิ่งต่อไปนี้
1.ความง่าย
-ง่ายต่อการนำไปใช้
-ง่ายต่อการผลิต
-ง่ายต่อการสื่อความหมาย
2.ความเป็นเอกภาพ
3.การเน้น
4.ความสมดุล

ความสำคัญของการออกแบบงานกราฟิก
1.การออกแบบที่ดีต้องทำให้ข้อมูลที่กระจัดกระจายมีระเบียบมากขึ้น
2.ช่วยให้ระบบการถ่ายทอดข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วและชัดเจน
3.ช่วยสร้างสรรค์งานสัญลักษณ์ทางสังคมเพื่อสื่อความหมายร่วมกัน
4.ช่วยพัฒนาระบบการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
5.ช่วยให้เกิดจินตภาพ เกิดมีแนวคิดสิ่งใหม่อยู่เสมอ
6.ส่งเสริมให้เกิดค่านิยมทางความงาม

นักออกแบบกราฟิก
งานออกแบบกราฟิกมีขอบข่ายกว้างขวาง นักออกแบบจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านกราฟิกเป็นอย่างดี เพื่อที่จะได้สร้างแนวคิดและจัดเสนอรูปแบบกราฟิกให้สอดคล้องกับสื่อลักษณะต่างๆต้องมีความเข้าใจถึงระบบการสื่อสารและกระบวนการผลิตสื่อการสื่อความหมายโดยถ่องแท้ การปรุงแต่งงานออกแบบจะต้องสอดคล้องกับหลักปรัชญาการออกแบบ ซึ่งได้แก่
1.ก่อให้เกิดประโยชน์และแสดงศักยภาพในหน้าที่ได้ตรงตามวัตถุประสงค์มากที่สุด
2.ต้องสามารถแสดงคุณค่าในด้านสุนทรียศาสตร์ได้อย่างดี
3.มีรูปแบบที่ทันสมัย
4.มีความประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุดและส่งผลตามวัตถุประสงค์ได้มากที่สุด
5.มีรูปแบบที่แสดงถึงเอกลักษณ์และลักษณะเฉพาะอันสอดคล้องกับลักษณะศิลปวัฒนธรรมของชาติ

อิทธิพลของศิลปะในการออกแบบกราฟิก
เพื่อให้วานกราฟิกมีคุณค่าทางความงาม มีความน่าเชื่อถือและสามารถแสดงเอกภาพของการสื่อความที่ดีได้อย่างเต็มที่ องค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยทำให้งานกราฟิกมีงานโดดเด่นและน่าสนใจ นักออกแบบจึงใช้หลักและวิธีการทางศิลปะเป็นแนวทางในการออกแบบ โดยพิจารณาจากหลักการดังต่อไปนี้
1.รูปแบบตัวอักษรและขนาด
2.การกำหนดระยะห่างและพื้นที่ว่าง
3.การกำหนดโครงสี
4.การจัดวางตำแหน่ง

คุณค่าของงานกราฟิก
1.เป็นศูนย์กลางในการสื่อความหมายให้เกิดความเข้าใจตรงกัน
2.สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อเพื่อให้เกิดการเรียนรู้
3.ช่วยให้งานเกิดความน่าสนใจแก่ผู้พบเห็น
4.ช่วยให้เกิดการกระตุ้นทางความคิดและการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
5.ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์

ขอบข่ายของงานกราฟิก
1.การประชาสัมพันธ์ ถือได้ว่างานกาฟิกควบคู่ไปกับงานบริหาร
2.งานโทรทัศน์ กราฟิกเกี่ยวข้องกับหัวเรื่อง
3.งานจัดฉากละคร เช่น การจัดฉากในรูปแบบต่างๆ การออกแบบตัวหนังสือ
4.งานหนังสือพิมพ์ วารสาร
5.งานออกแบบหรือแบบร่าง
6.เขียนภาพเหมือน
7.งานพิมพ์หรือทำสำเนา
8.ทำซิลค์สกรีน
9.การออกแบบหนังสือ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ต่างๆ

การออกแบบประกอบไปด้วยสิ่งต่อไปนี้
1.เส้น (LINE)
2.รูปทรง (FORM) และรูปร่าง (SHAPE)
3.ช่องไฟ (SPACE)
4.ส่วนลัด (PROPORTION)
5.สี (COLOR)
6.ความงามทางพื้นผิว (TEXTURE)

การออกแบบที่ดี
การออกแบบที่นั้นต้องมีหลักเกณฑ์ในการยึดถือปฏิบัติที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักออกแบบพอจะแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้ คือ
1.หน้าที่ของการนำไปใช้ เป็นสิ่งแรกที่นักออกแบบจะต้องคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่ง
2.การประหยัด หมายถึง การประหยัดวัสดุและเงินทองที่จะนำมาลงทุน
3.ความทนทาน คือ ถ้าขาดความทนทานคุณค่าของสิ่งนั้นก็จะด้อยลงไป
4.วัสดุ ต้องเลือกให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย
5.โครงสร้าง ผู้ออกแบบจะต้องศึกษาโครงสร้างหรือธรรมชาติของสิ่งเหล่านั้นให้เข้าใจเป็นอย่างดีเสียก่อน จึงจะเป็นนักออกแบบที่ดีได้
6.ความงาม สิ่งที่ขาดไม่ได้คือความงามต้องพอดีและไม่มากไม่น้อยจนเกินไป
7.ลักษณะเด่นพิเศษเฉพาะอย่าง คือ จะเน้นจุดดีของแต่ละสิ่งออกมาให้เห็นเด่นชัด จึงถือว่าการออกแบบนั้นสมบูรณ์
* สิ่งที่กล่าวมาทั้ง 7 ข้อนี้ ถือว่าเป็นหัวใจของนักออกแบบที่จะต้องถือมั่นและยึดมั่นอยู่ตลอดไป

แนวสร้างสรรค์งานกราฟิก
งานกราฟิกที่น้าสนใจจะต้องมีเอกลักษณ์ของตัวเองที่ชัดเจน การออกแบบจะเป็นตัวสนับสนุนให้งานน่าสนใจเพียงใด ความสำเร็จของธุรกิจสื่อโฆษณา หรือกลยุทธ์ทางการสื่อความหมาย จึงต้องขึ้นอยู่กับการออกแบบอย่างมากเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้สนใจงานโฆษณา และการสร้างสรรค์งานออกแบบกราฟิกทั่วไป จึงขอเสนอรูปแบบขององค์ประกอบศิลป์ สำหรับงานกราฟิกเพื่อพิจารณา
1.แบบแถบตาราง ( Band )
2.แบบแกน ( Axial )
3.แบบตาราง ( Grid )
4.แบบกลุ่ม ( Group )
5.แบบต่อเนื่อง ( Path )
6.แบบตัวอักษร ( Lettering )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น